การ Tie-In หรือ การทำโฆษณาแฝง เป็นการสื่อสารทางการตลาดที่จะสร้าง Brand Awareness โดยดึงจุดเด่น ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ออกมา ซึ่งธุรกิจสามารถ Tie-In ได้เอง หรือจะมีการจ้างสื่อ KOL Influencer เพื่อเป็นตัวกลางในสื่อสารทางการตลาด เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก
การที่จะขายสินค้าในปัจจุบัน บางทีแค่โฆษณาเฉย ๆ พูดออกไปตรง ๆ อาจจะทำให้ผู้คนไม่ค่อยสนใจในผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้น ๆ ไปเลย เนื่องจากรู้สึกว่าถูกยัดเยียดมากจนเกินไป
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ถือกำเนิดขึ้นกันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การโฆษณาเดิม ๆ กลายเป็นความล้าหลังและไม่เป็นที่น่าสนใจอีกต่อไป โดยเฉพาะกับ Gen Z เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มีไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตแบบสุดโต่ง ไม่อยู่ในกรอบหรือวัฒนธรรมเดิม ๆ มีนิสัยและความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง ส่งผลให้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิม ๆ ของแบรนด์ไม่อาจจะใช้ได้ผลอีกต่อไป จึงได้เกิดเป็นกลยุทธ์การตลาดที่มีรู้แบบการขายแบบใหม่ หรือก็คือการโฆษณาแฝง TIE-IN นั่นเอง
การโฆษณาแฝงแบบนี้มีวิธีการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็มักจะแตกต่างกันไป แต่ไม่ได้ส่งผลลัพธ์ที่ต่างกันมากนัก วันนี้ YOU MOOC เลยอยากพาคุณมารู้จักกับกลยุทธ์การทำโฆษณาแฝงในยุคปัจจุบันกันค่ะ
กลยุทธ์ Tie-in ที่สามารถสร้างการรับรู้แบบยุคใหม่
ผ่าน KOL/Influencer
ในยุคสมัยที่ KOL Influencer เรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่ขับเคลื่อนในวงการการตลาดได้เป็นอย่างดี ยอดขายจากการโปรโมตผ่านบุคคลเหล่านี้ พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าการโฆษณาแบบเดิม ๆ
เรียนรู้เกี่ยวกับ KOL/ Influencer:
The KOL: ขายให้ปัง ดังและรวย (ครบถ้วนทุกบทเรียน)
ด้วยความที่ KOL / Influencer มักจะขายสินค้าในรูปแบบคอนเทนต์ที่สนุกสนาน ไม่จำเจ ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าไม่ได้ขายตรงมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
บทความที่เกี่ยวข้อง:
KOL Marketing ประเทศจีนทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
เรียนรู้การเติบโตธุรกิจด้วยการสร้างยอด Like เพิ่มยอดขาย กับ “KOL Marketing”
โปรโมตผ่าน Live Streaming
การ Live เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เหมาะสำหรับการโฆษณาสินค้าไม่แพ้ช่องทางอื่น ๆ ซึ่งในการไลฟ์นี้ ไม่ใช่การไลฟ์ขายของแบบทั่วไป แต่จะเป็นการแทรกโฆษณาผ่าน Live Streaming การไลฟ์แข่งกีฬา E-Sport หรือการไลฟ์ของรายการออนไลน์
การโฆษณาผ่านการไลฟ์นี้ ตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์จะต้องเข้ากับสไตล์และคอนเทนต์ของช่องต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการไลฟ์แบบนี้จะทำให้ผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้และซื้อตามได้แบบ Real Time เช่นเมื่อพากษ์เกมนาน ๆ ก็จะรู้สึกคอแห้งหรือหิว ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำโฆษณาได้ ก็เป็นตั้งแต่น้ำดื่ม และขนมต่าง ๆ
บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ Live Streaming:
Streamer หน้าใหม่ เปลี่ยนการเล่นเกมออนไลน์ให้เป็นรายได้
Tie-In แฝงในภาพยนตร์
เป็นหนึ่งในวิธีการแฝงตัวโฆษณาที่สามารถสร้างภาพจำได้เป็นอย่างดี โดยในบางครั้งอาจจะทำให้แบรนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง เช่น การที่ตัวเอกประกอบอาชีพเป็นสจ๊วต ก็จะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้า ฉากบนเครื่องบินของสายการบินนั้น ๆ และอีกรูปแบบหนึ่งคือการโฆษณาแฝงสินค้าที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของตัวละคร เช่นผลิตภัณฑ์สกินแคร์ ที่เมื่อตัวละครใช้แล้วหน้าใส ผิวชุ่มชื้น ผู้ชมเห็นแล้วก็อยากซื้อตาม เป็นต้น
Tie-In ผ่านคอนเทนต์ช่อง Youtube
การโฆษณาในรูปแบบนี้ตัวเจ้าของแบรนด์ต้องศึกษารูปแบบของคอนเทนต์และไลฟ์สไตล์ของช่องนั้น ๆ ให้ดี และในทางเดียวกัน Youtuber จะต้องศึกษาตัวแบรนด์และผลิตคอนเทนต์ให้เข้ากับแบรนด์และนำเสนอสินค้านั้น ๆ ให้ดูน่าสนใจ และเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคอยากซื้อตาม
หลักการ Tie-In
Basic Placement เป็นการวางสินค้าไว้บนสื่อ แบบให้เห็นได้ชัดเจนหรือแอบวาง แต่จะไม่มีการพูดถึงสินค้านั้น ๆ เช่นในรายการสัมภาษณ์ มักจะวางสินค้าเอาไว้ตรงโต๊ะให้เห็นได้ชัด หรือการวางสินค้า ป้ายโฆษณา โลโก้ ไว้ในฉากซิทคอม แต่จะไม่มีการพูดถึงหรือโปรโมทใด ๆ ทั้งสิ้น
Integrated Placement การผสมผสานสินค้าให้เข้ากับสื่อ โดยจะเป็นการแสดงสินค้าแบบเนียน ๆ ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบของการใช้บทพูดหรือการแสดงที่ดูแนบเนียน จนบางทีอาจทำให้ผู้ชมไม่ทันได้สังเกตว่านั่นคือการโฆษณา เช่นการที่นักแสดงดื่มน้ำ แบบที่มุมกล้องอาจจะเห็นโลโก้สินค้าเพียงช่วงหนึ่ง แต่ไม่ได้จดจ่ออยู่กับตัวสินค้ามากจนเกินไป และตัวนักแสดงอาจจะทำท่าทางให้เห็นว่าดื่มไปแล้วสดชื่น
Enhanced Placement การโฆษณาผ่านสื่อนั้น ๆ แบบโจ่งแจ้ง โดยอาจจะถ่ายทอดออกมาผ่านบทพูด จนผู้ชมสังเกตและรับรู้ได้อย่างชัดเจนว่านั่นคือการโฆษณา แต่อาจจะปรับเปลี่ยนบทให้ดูไม่จริงจังมากจนเกินไป ยังมีความธรรมชาติของสื่อนั้น ๆ อยู่ เช่นการที่นักแสดงพูดถึงคุณสมบัติของมือถือ อธิบายการใช้งานในแต่ละฟังก์ชัน เป็นต้น
Programming การนำสินค้าเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อนั้น ๆ เช่นรายการทำอาหาร อาจจะใช้อุปกรณ์จากแบรนด์ ๆ นั้นทั้งหมด หรือการเลือกใช้วัตถุดิบประกอบอาหาร ก็มาจาก Supermarket เพียงแห่งเดียว และมีการถ่ายให้เห็นโลโก้อย่างชัดเจน
สื่อยุคใหม่ควรทำโฆษณาแฝงอย่างไรให้ไม่รู้สึกว่ายัดเยียด ?
- สินค้าที่จะโฆษณาต้องมีความเข้ากับคอนเซปต์ หรือ Mood & Tone ณ ขณะนั้น โดยผู้ชมจะต้องไม่รู้สึกว่ามันต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัดจนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ และจะต้องแทรกเนื้อหาให้แนบเนียนที่สุด ดังนั้นแล้วเมื่อได้รับสินค้ามา สิ่งแรกที่เราต้องคิดคือจะทำคอนเทนต์อย่างไร ให้ขายสินค้าได้ และแนบเนียนที่สุด
- ไม่ควร Hard Sell เกินไป ในบางครั้งการโฆษณาแฝงไม่จำเป็นต้องมากับการขายที่แนบเนียน แต่ตัวของผู้นำเสนอสามารถบอกเล่าโดยตรงได้ โดยสามารถเล่าเรื่องราวของตัวสินค้าให้น่าสนใจและบอกต่อ สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ชม ไม่ควรจะขายสินค้าโดยตรงแบบที่ผู้ชมจะรู้สึกเหมือนโดนมัดมือชกจนเกินไป
- เลือกสื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ในปัจจุบันมีผู้ผลิตคอนเทนต์ออกมาเป็นจำนวนมาก และมีช่องทางในการเผยแพร่โฆษณาของเราเยอะแยะไปหมด ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ต้องเลือกสื่อที่ต้องการนำเสนอให้ดี ๆ ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าสินค้าของเราเหมาะกับแพลตฟอร์มไหน และการขายแบบใด เพื่อให้สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าและผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเลือก KOL จากเจ้าของธุรกิจตัวจริง:
เจาะ Insight นักธุรกิจ เลือก KOL อย่างไร?
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]