Influencer Marketing เป็นการใช้คนที่มีชื่อเสียงในโซเชียลมาช่วยโปรโมท เป็นการตลาดที่ได้ผลดีและสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย แต่การทำการตลาดด้วยวิธีนี้ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ทั้งตัวอินฟลูเอนเซอร์เองและกลยุทธ์ในการโปรโมทที่เหมาะสม
อินฟลูเอนเซอร์ คือ ผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล เป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก ผู้ติดตามส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยทำงาน และมักคล้อยตามเนื้อหาหรือสิ่งที่พูดโน้มน้าวใจได้ง่าย เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจกว่าสื่อโฆษณาของแบรนด์ต่าง ๆ YOU MOOC จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาชีพ Influencer และความสำคัญของอาชีพนี้ที่มีผลต่อธุรกิจ
Influencer สามารถแบ่งได้หลายประเภท ส่วนใหญ่มักแบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม ดังนี้
1. Celebrity / Mass Publisher
กลุ่มนี้มีผู้ติดตามมากที่สุด ตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 คน มักเป็นดารา นักร้อง หรือผู้ที่มีชื่อเสียงมาก่อน ทั้งในโลกออนไลน์ หน้าจอโทรทัศน์ และหน้าจอภาพยนต์ บุคคลเหล่านี้จะมีไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักในช่องทางที่ชัดเจน ดังนั้นคอนเทนต์ของคนกลุ่มนี้มักจะมีอิทธิพลต่อผู้ติดตาม และผู้บริโภคทั่วไป
2. Key Opinion Leaders (KOL) / Professional Publishers / Specialist
กลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความสนใจหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เนื้อหาจึงดึงดูดคนเฉพาะกลุ่ม แต่ถ้าสามารถเล่าเรื่องได้น่าสนใจ ก็อาจมีคนทั่วไปมาติดตามเช่นกัน จำนวนผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้จึงไม่ค่อยแน่นอน
3. Micro
กลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณ 10,000 – 100,000 คน มักเป็นคนที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น ไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว รวมไปถึงรีวิวสินค้าต่างๆ
4. Nano
กลุ่มนี้มีผู้ติดตามประมาณหลัก 1,000 คน การมีผู้ติดตามน้อยสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ (Engagement) บนโลกออนไลน์ได้มาก ซึ้งผู้ที่ติดตามส่วนใหญ่จะชอบไลฟ์สไตล์ คอนเทนต์ ที่แนะนำพวกเขาอยากไปตรงมาและจริงใจ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ได้รับความนิยมสูง
Influencer จำเป็นต่อธุรกิจหรือไม่ ?
แน่นอนว่าการนำ อินฟลูเอนเซอร์ มาใช้ในการตลาดเพื่อขายสินค้านั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อธุรกิจอย่างยิ่ง เพราะบุคคลมีชื่อเสียงเหล่านั้นจะขายสินค้าผ่านช่องต่าง ๆ ผู้ที่ติดตามก็จะได้เห็นสินค้าและสามารถซื้อตามได้โดยใช้ความน่าเชื่อถือของอินฟลูเอนเซอร์ เป็นการเพิ่มยอดขายให้การธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของ Influencer สำหรับธุรกิจ มีอะไรบ้าง ?
1. สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ดีกว่าการตลาดแบบอื่น
ผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความใกล้ชิดมากกว่าการโฆษณาจากแบรนด์ ไม่ว่าจะทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือแบนเนอร์ในเว็บไซต์ต่าง ๆ เพราะรู้สึกว่ามีผู้ใช้สินค้าจริงและเป็นบุคคลที่ตนรู้จัก ยิ่งเป็นบุคคลที่มีความสนใจตรงกับสินค้าและบริการก็จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ และโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้ดีขึ้น
2. มีผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์
การเลือกใช้ อินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะสมจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูดีขึ้น หรืออาจเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ ฉะนั้นการเลือกอินฟลูเอนเซอร์เป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถเลือกได้จากความน่าเชื่อถือ จากภาพลักษณ์ที่ปรากฎในสื่อได้ในขั้นแรก
3. ประเมินผลได้
แบรนด์สามารถดูกระแสตอบรับได้จากยอดการเข้าถึง (Reach) คือ ยอดผู้เข้าชม และยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) คือจำนวนยอดการกดไลค์ (Like), การแชร์ (Share), การคอมเมนต์ (Comment) ไปจนถึงการตรวจสอบและติดตามข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่คลิกผ่านลิงค์จาก Influencer แล้วเข้าไปซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของแบรนด์ก็สามารถทำได้ เพื่อประเมินผลว่ากลยุทธ์นี้ประสบความสำเร็จหรือไม่ และทำให้วางแผนกลยุทธ์ครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น
กลยุทธ์
การทำ Influencer Marketing ต้องมีกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์ดูน่าสนใจ มีเอกลักษณ์ ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ กลยุทธ์ “ซี้ด” หรือ “SEED Strategy“ ซึ่งนำเสนอในงานสัมมนาการตลาดที่จัดโดย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีแนวทางกลยุทธ์ดังนี้
S: Sincere (ความจริงใจ)
E: Expertise (ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน)
E: Engagement (การเข้าถึง)
D: Different (ความแตกต่าง)
หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ Influencer และการสร้างรายได้จากอาชีพนี้ เราขอแนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ “เคล็ด(ไม่)ลับ ฉบับ KOL” เพื่อเส้นทางสู่การเป็น KOL อย่างเจาะลึกและเข้มข้น เพราะทักษะการสื่อสารและการขายที่สามารถดึงดูดผู้ชมหรือผู้ฟังให้ได้
สิ่งที่คุณจะได้เรียนในคอร์สนี้:
1. คำศัพที่ควรรู้ของวงการ KOL
2. เรียนรู้ 12 รูปแบบของอาชีพ Influencer และ KOL
3. แนวทางเบื้องต้นสู่การเป็นอาชีพ Influencer และ KOL
4. เจาะลึกวิธีการทำงานของ KOL ที่ประสบความสำเร็จ
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]