เรื่องการเงิน สำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะ นอกจากเรื่องของการบริหารจัดการยอดขาย การมองหาช่องทางการเติบโตของธุรกิจ หรือการจัดการบริหารงานต่าง ๆ แล้ว เรื่องการเงินถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน หลายคนอาจคิดว่าเรื่องการเงินนั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่ความจริงแล้วก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น หากต้องการความรู้พื้นฐานด้านการเงิน คอร์สนี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณเอง กับคอร์ส “เจาะลึกวิธีการบริหารเงิน (ฉบับคนไม่จบการเงิน)” และบทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่าข้อคิดเกี่ยวกับการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้มีอะไรบ้าง…
10 ข้อคิด เรื่องการเงิน ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้
- เงินหมุนเวียนคือหัวใจ
จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้หลายคนได้เห็นถึงความสำคัญของการมีเงินหมุนเวียน สำหรับธุรกิจมากขึ้น เพราะการมีเงินหมุนเวียนนั้น จะช่วยให้ธุรกิจสามารถไปต่อไปอย่างน้อยอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นการประมาณการกระแสเงินสด และรายจ่ายจึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจ โดยวิธีประมาณการกระแสะเงินสดรายรับ รายจ่ายนั้น เราควรจัดทำงบประมาณขึ้นมาอย่างน้อย 6 – 12 เดือนล่วงหน้า เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจก่อน ซึ่งจะช่วยให้เราได้เตรียมเงินหมุนเวียนได้ทันเวลา
2. กำไรไม่ใช่เงินสด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำหรับเป้าหมายของการทำธุรกิจคือการที่ได้ กำไร (มีรายได้เข้ามามากกว่าค่าใช้จ่ายที่เสียออกไป) แต่ในบางครั้งสิ่งที่เจ้าของธุรกิจจ้องโฟกัสนั่นคือ “การบริหารจัดการเงินสด” เพื่อให้ได้กำไรทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าแบบเครดิต (ลูกหนี้การค้า) ถ้าเราไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ที่ลูกค้าติดเครดิตได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมา ถึงแม้จะให้มีกำไรก็ตาม แต่อาจจะทำให้ไม่มีเงินสดเพียงพอต่อการบริหารจัดการได้
3. ลดเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
การลดค่าใช้จ่ายถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเพิ่มกำไรของธุรกิจ แต่ควรคิดต่อว่าค่าใช้จ่ายที่จะลดนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นต่อธุรกิจของเรา สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น คือ ค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละธุรกิจควรมีมุมมองในส่วนนี้แตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดวิกฤต สิ่งที่หลายธุรกิจเลือกทำ คือการลดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าเจ้าของธุรกิจมีวิสัยทัศน์เลือกลดเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำ เป็นย่อมส่งผลดีที่ทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น และสุดท้ายแล้วอาจทำให้ได้กำไรที่ยั่งยืนหลังจากที่วิกฤตผ่านไป ดังนั้นก่อนจะลดค่าใช้จ่ายต้องตามอีกครั้งว่าค่าใช้จ่ายที่ควรลดนั้นมันคือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่
4. เห็นตัวเลขก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ
ไม่ว่าจะตัดสินใจในเรื่องอะไร สิ่งหนึ่งที่ควรมีอยู่เป็นพื้นฐานคือตัวเลขที่จะช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของรายงาน อัตราส่วน สัดส่วน หรือตัวเปรียบเทียบอื่น ๆ ก็ย่อมดีกว่าการตัดสินใจโดยสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียวอยู่แล้ว เช่น การตัดสินใจลงทุนซื้อสินทรัพย์ใหม่เพื่อใช้ในธุรกิจอาจจะต้องพิจารณาถึงต้นในในการดูแลรักษา, ระยะเวลาในการจ่ายหนี้ (ถ้าซื้อโดยมีเครดิต), ประสิทธิภาพ และโอกาสในการสร้างรายได้ประกอบกัน เพราะการลงทุนโดยอาศัยแค่ความรู้สึกหรือสัญชาติญาณนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อการเงินของธุรกิจได้
5. ไม่ใช่แค่ลดภาษี แต่ต้องลดค่าใช้จ่ายให้ได้
ภาษีถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เจ้าของธุรกิจหลายคนอยากลดในส่วนนี้ แต่ก็ต้องกลับมาถามว่าค่าใช้จ่ายในการลดภาษีนั้นมีจำนวนเท่าไหร่ เพราะมีหลายครั้งที่ต้นทุนในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ, ทีมงาน หรือคนที่จัดการวางแผนธุรกิจทั้งหลายนั้นมีราคาแพงกว่าภาษีที่ประหยัดได้อีก
6. ค่าใช้จ่ายต่างจากสินทรัพย์
อีกเรื่องในการตัดสินใจการเงินที่พลาดบ่อย ๆ ของเจ้าของธุรกิจคือ การคิดว่าสินทรัพย์กับค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วมันจะส่งผลต่อการเงินธุรกิจอย่างมหาศาล เช่น การลงทุนซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาโดยคิดว่าสามารถเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวนรอบบัญชี (จะได้ลดภาษี หรือลดกำไร) แต่ความจริงแล้วนั้นกลับเป็นสินทรัพย์ที่ต้องทยอยตัด เป็นค่าใช้จ่ายตามอายุการใช้งาน (ค่าเสื่อมราคา) แถมยังส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดในระยะสั้น และยังมีผลกระทบต่อกำไรในระยะยาว ดังนั้น ควรวางแผน และทำความเข้าใจให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ
7. รับมือวิกฤตด้วยงบประมาณ
คำว่างบประมาณในที่นี้หมายถึง งบประมาณ 2 ด้าน ด้านแรกคืองบประมาณที่ต้องทำขึ้นเพื่อวางแผน เช่น งบประมาณกระแสเงินสดรับจ่าย, งบประมาณรายรับรายจ่าย และอีกด้านคือการจำกัดงบประมาณในการจัดการวิกฤต เช่น ควรลงทุนเท่าไหร่ เพื่อจัดการปัญหา และเพดานสูงสุดของค่าใช้จ่ายควรเป็นเท่าไหร่ เพื่อที่จะไม่ได้กระทบกับด้านอื่น ๆ เพราะสุดท้ายแล้ว หากธุรกิจไปไม่รอดก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ถ้าปล่อยให้ชีวิตของเจ้าของธุรกิจไปไม่รอดด้วยนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก
8. การจ่ายผลประโยชน์ต้องชัด
การทำธุรกิจ ต้องแยกออกจากเรื่องส่วนตัว ดังนั้น เจ้าของธุรกิจต้องกำหนดผลประโยชน์ของตัวเอง ที่จะได้รับจากธุรกิจให้ชัดเจนไปเลย ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน, ค่าจ้าง, คอมมิชชั่น หรือเงินปันผล (ส่วนบางจากกำไร) ว่าควรได้รับเท่าไหร่ และต้องตอบให้ได้ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น เพราะการวางแผนผลประโยชน์อย่างชัดเจน จะทำให้ธุรกิจนั้นรู้ต้นทุนที่แน่นอน ในขณะที่เจ้าของธุรกิจเองก็สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องใช้ประโยชน์แฝงจากธุรกิจด้วยเช่นกัน
9. หนทางลัดประหยัดภาษีไม่มีจริง
หลายคนคิดวางแผนประหยัดภาษีกันแบบง่าย ๆ โดยอาศัยจากแนวทางที่คนรอบข้างแนะนำ แต่นั่นเป็นความเสี่ยง เพราะภาษีเป็นเรื่องที่ยากและมีความซับซ้อน การจะทำความเข้าใจและเลือกใช้แนวทางต่าง ๆ นั้นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในหลายมุมมอง เริ่มตั้งแต่ความคุ้มค่า, ค่าใช้จ่าย ไปจนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามมา
10. สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบบบัญชี
เพราะถ้าเราวางระบบบัญชีของธุรกิจไว้ดีตั้งแต่ขั้นตอนแรก จะย่อมส่งผลที่ดีซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเดินทางไปได้อย่างถูกต้อง และไม่ต้องกังวลหรือกลัวปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ที่จะตามมา
สำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ เราขอแนะนำให้ทุกคนใส่ใจเกี่ยวกับระบบบัญชีเป็นอย่างมาก และคอร์สเรียนนี้จะเป็นตัวช่วย ให้คุณเอง
กับคอร์ส เจาะลึกวิธีการบริหารเงิน (ฉบับคนไม่จบการเงิน) เพื่อที่ให้ทุกคนมีความเข้าใจในการเงินมากยิ่งขึ้น
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]