หากจะพูดถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งออนไลน์ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคนี้ คงจะไม่มีใครที่จะไม่รู้จัก Netflix หนึ่งในผู้นำตลาดออนไลน์ Streaming และธุรกิจบันเทิงระดับโลก
แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งออนไลน์ยอดฮิตนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1997 โดย Reed Hastings และ Marc Randolph ซึ่งเริ่มต้นจากการทำธุรกิจปล่อยเช่า DVD และเกิดการพัฒนาตามยุคสมัยมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราใช้กันอย่างแพร่หลายได้อย่างทุกวันนี้
โดย ณ ปัจจุบันเนตฟลิกเปิดให้บริการมากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้สมัครสมาชิกมากกว่า 80 ล้านคน ส่งผลให้แพลตฟอร์มนี้กลายเป็นผู้นำด้านการ Streaming ที่ใหญ่ที่สุดโดยมีทั้งวีดิโอ วาไรตี้ ภาพยนต์ ทีวีซีรีส์ สารคดี และอีกมากมาย
ซึ่งกว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์สตรีมมิ่งอันดับต้น ๆ ของโลกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งคู่แข่งที่มากมายและรสนิยมด้านการเสพสื่อบันเทิงของผู้ใช้งานแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแล้วสิ่งสำคัญคือการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเป็นตัวช่วย ให้สามารถเข้าถึงความต้องการและเจ้าตลาดกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายยิ่งขึ้น
Data-Driven Business คือกลยุทธ์ที่เนตฟลิกนำเข้ามาใช้สำหรับการทำการตลาดของพวกเขา โดยเมื่อปี 2017 เนตฟลิกได้กล่าวว่า “80 percent of watched content is based on algorithmic recommendations” ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่าเนตฟลิกได้มีการนำเอา Big Data เข้ามาปรับใช้กับธุรกิจ
Todd Yellin รองประธานฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของเนตฟลิกในขณะนั้นกล่าวว่า “สมาชิกผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะดูรายการแนะนำคร่าวๆ เพียง 40-50 รายการก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเปิดดู จากหลายพันหลายหมื่นเรื่องที่มี” ดังนั้นเนตฟลิกจึงมีการปรับรูปแบบและหน้าตาของแอปพลิเคชันให้มีการนำเสนอรายการที่น่าสนใจ โดยจะแบ่งตามความสนใจและการเสพคอนเทนต์ของแต่ละบุคคล ซึ่งคำถามก็คือพวกเขามีการปรับใช้ Data กับธุรกิจได้อย่างไร?
Data ที่ Netflix เลือกใช้
- วัน-เวลาที่รับชมคอนเทนต์
- อุปกรณ์ที่เข้าแพลตฟอร์มมารับชมเนื้อหา
- ลักษณะของเนื้อหาเป็นแนวไหน
- การค้นหาบนแพลตฟอร์ม
- เนื้อหาคอนเทนต์ที่ชมซ้ำ
- การกดปุ่มต่างๆ เช่น การกดกรอ, หยุดชั่วคราว ฯลฯ
- ข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้
- เมื่อคุณออกจากคอนเทนต์ เช่น ดูครบไหม ฯลฯ
- คะแนนที่ให้โดยผู้ใช้งาน
- ฯลฯ
โดยหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลเนตฟลิกได้มีการปรับใช้ Algorithm และกลไกต่าง ๆ ที่ได้จากข้อมูลดังกล่าว มาใช้สร้างสรรค์เครื่องมือบางอย่าง เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน Big Data ให้เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน
Data กับการปรับใช้ของ Netflix
1. เพิ่มเครื่องมือช่วยแนะนำรายการแบบเรียลไทม์
เมื่อได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับวันเวลา ชั่วโมงในการรับชม การเพิ่มเนื้อหาลงในรายการที่ชอบและลักษณะของเนื้อหาของผู้ใช้งานแต่ละบุคคลแล้ว ทางเนตฟลิกก็จะมีการปรับนำเสนอเนื้อหาที่อยู่ในประเภทเดียวกัน และมีลักษณ์เนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ให้ตรงกับความต้องการและรสนิยมในการรับชมของผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูเนื้อหาหรือคอนเทนต์ประเภทเดียวกันได้อย่างง่าย และประหยัดเวลาในการเลือกดูคอนเทนต์อีกด้วย
2. ดึงดูดความสนใจด้วยภาพปก
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญต่อการตัดสินใจและการเลือกเสพคอนเทนต์อะไรสักอย่าง คงจะหนีไม่พ้นหน้าปก หรือเครื่องมือที่ชื่อว่า Aesthetics Visual Analysis (AVA) ที่จะเป็นการนำเสนอรูปภาพส่วนหนึ่งในเนื้อเรื่อง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เกิดการดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอยากดูเนื้อหาข้างในเพิ่มเติม ซึ่งในที่นี้ทางเนตฟลิกได้มีการปรับรูปปกให้มีความหลากหลายและการแสดงถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสนใจที่เพิ่มขึ้น
3. ความหลากหลายคือปัจจัยสำคัญ
นอกเหนือจากคอนเทนต์ที่มาจากการซื้อลิขสิทธิ์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นดาวเด่นของเนตฟลิกเลยก็คือ Netflix Original ที่เป็นการสร้างสรรค์เนื้อหาภายใต้แบรนด์ของพวกเขาเอง ที่ไม่ว่าจะปล่อยซีรีส์เรื่องไหนมา ก็เป็นที่น่าจับตามองและได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยเนื้อหาที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเหล่านั้น ล้วนมาจากการเก็บรวบรวม Data ความคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน สู่การต่อยอดเพื่อสร้างผลงานซีรีส์ รายการ และภาพยนตร์ใหม่ ๆ ซึ่งในจุดนี้ Data สามารถช่วยให้เนตฟลิกประหยัดค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และการวางแผนที่ยุ่งยากไปได้ในตัว
จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญและประโยชน์จากการใช้ Data เข้ามาช่วยในการทำงานและการทำการตลาดของเนตฟลิกจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคลากรของพวกเขาประหยัดเวลาและสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างเป็นประโยชน์ในหลากหลายด้าน ไม่เพียงแต่การปรับปรุงรูปแบบของแพลตฟอร์มและนำเสนอเนื้อหาที่ตรงใจกับผู้บริโภคเพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังสามารถดึงเอาข้อมูลเหล่านั้นมาใช้กับการผลิตรายการ เนื้อหา ซีรีส์ Netflix Original ที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นแล้วสิ่งสำคัญของการนำ Data มาปรับใช้ จะสามารถช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายด้าน หากใครที่กำลังสนใจในเรื่องของ Data และอยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถเรียนรู้ได้กับ YOU MOOC คอร์สออนไลน์ที่เกี่ยวกับการใช้ Data โดยตรง โดยจะสอนตั้งแต่จุดเริ่มต้น แม้ไม่มีพื้นฐานก็เรียนได้กับคอร์ส “เริ่มต้นเรียนรู้ Data Science เพื่อก้าวเข้าสู่นักวิจัยข้อมูล”
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]
Shopee: YOU MOOC
Lazada: YOU MOOC