กรณีศึกษา จากหลากหลายแบรนด์ดังที่ใช้ Data เข้ามาช่วยในการโปรโมทหรือสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภค วันนี้ YOU MOOC ขอแนะนำด้วยกันทั้งหมด 3 แบรนด์ดัง จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ
เรียนรู้เกี่ยวกับ Data เพื่อองค์กรหรือธุรกิจของคุณได้ที่:
เริ่มต้นเรียนรู้ Data Science เพื่อก้าวเข้าสู่นักวิจัยข้อมูล
นับได้ว่าในยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีแบบนี้ Data ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อผู้ประกอบการหรือหลากหลายแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสามารถดึงเอาข้อมูลของลูกค้ามาได้แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำแคมเปญหรือต้องปรับปรุงสินค้าในรูปแบบใดจึงจะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี
กรณีศึกษา 3 แบรนด์ดังที่นำ Data มาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ของเขากันว่ามีอะไร และใช้อย่างไรบ้าง?
- Spotify
สำหรับนักการตลาด แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ล้วนต้องหาพื้นที่สื่อสำหรับสร้างการสื่อสารและทำการตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทาง Spotifyก็เป็น Platform Streaming เพลงและความบันเทิงผ่านเสียงที่มีกลุ่มผู้ใช้งานมากมาย และเขาเองก็อยากจะดึงดูดให้นักการตลาดมาลงโฆษณาในแอปฯ ของตนเช่นกัน
ทาง Spotify มีงานวิจัยที่บอกว่า Spotify นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่คนมี engagement มากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ถึง 23%
แต่เมื่อดูข้อมูลเชิงลึกแล้ว กลับพบว่างบประมาณของการทำโฆษณาผ่าน Digital Audio คิดเป็นอัตราส่วนเพียง 2% เท่านั้น ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสสำคัญว่า แท้จริงแล้ว พื้นที่ตรงนี้ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
แล้วแบบนี้ Spotify จะทำยังไงถึงจะโน้มน้าวให้เหล่า Marketer เห็นความสำคัญและเชื่อในการโฆษณาผ่าน Spotify ได้ล่ะ? ซึ่งจะมีใครมีอำนาจในการตัดสินใจสิ่งนี้มากไปกว่า CMO (Chief Marketing Officer) อีก
ทำให้ทางแอปฯ ได้ทำการติดต่อ CMO ไปและใช้ข้อมูลจากการสอบถามรวมถึงพฤติกรรมการฟังเพลง แนวเพลงที่ชื่นชอบ ผ่านงานอีเวนต์ต่าง แบบเนียน ๆ
ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ทาง Spotify ก็เพื่อทำการวิเคราะห์แล้วนำไปแต่งเพลงให้ CMO คนนั้นโดยเฉพาะ
โดยเพลงที่จัดทำมานั้นก็ทำโปรดักชันอย่างดีเหมือนเพลงทั่วไป ซึ่งความเป็นตัวตนของ CMO คนนั้นก็จะอยู่ในเพลงทั้งหมด ทั้งแนวเพลง เนื้อเพลง รวมถึงภาพ cover ด้วย นอกจากนี้ก็ยังโฆษณาไปยัง CMO เหล่านี้เพื่อให้ CMO ทั้ง 14 คนได้เกิด experience จริง ในการฟังเพลงว่ามันสามารถสร้างอิมแพ็คได้มากแค่ไหน
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเม็ดเงินโฆษณาของ Spotify เติบโตขึ้น 75% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยแตะหลัก 1 พันล้านยูโรเป็นครั้งแรก
- Starbucks
ในขณะที่เราซื้อกาแฟที่ร้าน Starbucks พร้อมทั้งใช้บัตรหรือแอปเพื่อสะสมแต้มผ่านทาง Starbucks Rewards นั้น หารู้ไม่ว่านี่คือกลยุทธ์ขั้นเทพของ Starbucks ในการเก็บ Data ไปต่อยอด เพราะทุก Transaction ที่เกิดขึ้นนั้น ทั้งข้อมูลผู้ใช้งาน, เมนูที่สั่ง, ปริมาณที่ซื้อ การ Custom เครื่องดื่มที่เราเลือก, ยอดใช้จ่าย, สาขาที่ซื้อ และอื่น ๆ อีกมาก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ทาง Starbucks เก็บและนำไปใช้ต่อ
เหตุผลนึงที่ Starbucks เป็นร้านกาแฟที่หลายคนชื่นชอบเกิดจาก ‘ประสบการณ์’ ซึ่งทางแบรนด์ได้มีการวางแผนมาอย่างดี โดยนำ Data มาสร้างประสบการณ์สุดประทับใจที่เหมาะกับคน ๆ นั้นโดยเฉพาะ
โดย Starbucks จะทำการวิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ ในการบริโภค เพื่อเลือกนำเสนอโปรโมชันหรือเมนูต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมและรูปแบบการบริโภคของผู้บริโภคแต่ละคนโดยเฉพาะ
อีกอย่างที่ Starbucks นิยมทำก็คือ Push Notification ผ่านทางแอป Rewards ซึ่งถ้าหากใครเป็นลูกค้าคุณภาพก็คงจะมีกันอยู่แล้ว ดังนั้นนี่จึงเป็นแนวทางแรกที่ Starbucks นำ Data มาใช้ และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ทาง Starbucks ก็ทำการวิเคราะห์จากข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคต่าง ๆ พร้อมนำมาหาโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเมื่อเห็นข้อมูลแล้วว่าลูกค้ากว่า 43% เวลาซื้อเครื่องดื่มชา มักจะไม่ใส่น้ำตาล นี่จึงเป็นที่มาของเมนูชาที่ไม่มีน้ำตาล
นอกจาก Data ของลูกค้าแล้ว ทาง Starbucks ก็ยังนำ Data ด้านอื่น ๆ มาใช้งานในการสร้างสรรค์เมนูพิเศษเช่นกัน เช่น วันไหนจะมีอากาศร้อนมาก ๆ ทาง Starbucks ก็จะมีเมนูปั่นพิเศษเพื่อตอบโจทย์ในวันร้อน ๆ เหล่านั้นได้ทันที
ไม่เพียงเท่านั้นการเลือกทำเลหรือขยายสาขา Starbucks ก็เลือกโดยการวิเคราะห์จาก Data ด้วยเช่นกัน โดยทางแบรนด์ จะมีการใช้ AI ในการทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เช่น ประมาณรายได้ของผู้คนบริเวณนั้น, Traffic ที่เกิดขึ้น, จำนวนของคู่แข่ง เป็นต้น เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์จนพบเจอทำเลน่าสนใจใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ Starbucks จะต้องดูด้วยว่าร้านที่เปิดใหม่นั้นจะไม่เป็นการแย่งลูกค้ากันเองกับสาขาเดิมที่เคยมี แต่จะต้องเป็นการต่อยอดให้เกิดกำไรที่มากขึ้นในอนาคตโดยไม่ต้องเกิดความเสี่ยงหรือเดาไปเอง แต่คิดมาจาก Data นั่นเอง
- Muji
ร้านสินค้าสไตล์ญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลามได้นำ Data มาปรับใช้ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะในการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อให้สามารถปิดยอดขายได้
นับว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกร้านค้าจะมีการทำแคมเปญบนโลกออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้คนสั่งซื้อหรือเรียกให้คนมาที่ร้าน
ซึ่งปัญหาที่พบกันโดยทั่วไปก็คือไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลออนไลน์ได้เต็มที่เมื่อลูกค้ามาถึงหน้าร้าน ทำให้เสียดายโอกาสในการปิดการขายได้ Muji เลยใช้ระบบ CDP (Customer Data Platform) เข้ามาช่วยในการเชื่อมข้อมูลหลัก ๆ 3 อย่างเข้าด้วยกันก็คือ
- ข้อมูลพฤติกรรมบนออนไลน์ การใช้แอปพลิเคชัน
- ข้อมูลการซื้อของลูกค้า
- ข้อมูลสินค้าคงเหลือที่สาขา
เมื่อรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน Muji จึงสามารถส่ง Promotion หรือข้อมูลสินค้าไปให้ลูกค้าแต่ละคนได้แบบ Personalized รู้ว่าใครชอบอะไร รวมถึงยังสามารถส่งคูปองโปรโมชั่นได้ตามโลเคชั่นของลูกค้าอีกด้วย ส่งผลให้ผลลัพธ์จากการใช้ข้อมูลนี้น่าสนใจทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น
– คนกด redeem คูปอง 100% จากแอพสะสมคะแนนที่ลูกค้าใช้
– มีคนเข้ามาที่หน้าร้านมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
– ลดค่าใช้จ่ายในการในการทำโปสเตอร์และใบปลิวได้มหาศาล
จาก 3 แบรนด์ดังที่เรานำมาเป็น กรณีศึกษา ในเรื่องของ Data กันแบบนี้ ทำให้เห็นเลยว่ายิ่งยุคสมัยเปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนตาม ส่งผลให้เราต้องมีเครื่องที่จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถเข้าใจผู้บริโภค และสร้างสรรคโปรโมชันหรือหลาย ๆ อย่างให้ตอบโจทย์พวกเขาได้ ดังนั้น Data จึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะองค์กรหรือภาคธุรกิจไหนก็ตาม
คอร์สจาก YOU MOOC ที่ช่วยให้คุณเข้าใจด้าน Data ได้มากยิ่งขึ้น
: เริ่มต้นเรียนรู้ Data Science เพื่อก้าวเข้าสู่นักวิจัยข้อมูล
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]