“มาม่า” หนึ่งในแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่หลายคนมักจะพูดอย่างติดปากกับแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่ามาม่า วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับแบรนด์มาม่าจริง ๆ ว่ามีจุดเริ่มต้นและวิธีการอย่างไร ที่ทำให้ทั่วประเทศจดจำแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่ามาม่า
เมื่อปี พ.ศ. 2515 บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นโอกาสในการสร้างแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย โดยมีการร่สมทุนกับยูนิ-เพรสซิเดนท์จากประเทศไต้หวัน เพื่อก่อตั้งบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นมา
จุดเริ่มต้นของชื่อมาม่า
มาม่ามีความหมายอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือมาม่าที่แปลว่าแม่ และอีกความหมายคือ แม่คือคนที่ทำอาหารอร่อย ๆ ให้เราได้ทานอยู่เสมอ แบรนด์มาม่าจึงเปรียบเสมือนอาหารที่แม่ทำให้เราทาน
จุดเริ่มต้นของการเข้าตลาด
ในช่วงแรกที่มาม่าเริ่มรุกเข้าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พวกเขาขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีราคาแพงกว่าบะหมี่ถ้วย ด้วยราคาที่แรงผู้คนจึงไม่สนใจที่จะซื้อทาน จึงทำให้ยอดขายไม่เติบโตขึ้นเลย บริษัทจึงตัดสินใจที่จะลองทุกวิถีทาง เพื่อให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของพวกเขากลายเป็นที่นิยมในตลาด จนเกิดเป็นแนวคิด “การขายแบบชงชิม” เพื่อให้ผู้คนได้ลองทาน และตัดสินใจซื้อในที่สุด ซึ่งในสมัยก่อน ใครที่ไปเดินห้างหรือร้านค้า ก็มักจะเห็นบูธของมาม่าแจกให้ชิมอยู่บ่อย ๆ และพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพดี อร่อย ขึ้นมาเรื่อย ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
https://youmooc.co/technique-build-brand-trust/
จุดเริ่มต้นข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบของการเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า “มาม่า”
เนื่องจากการเติบโตของแบรนด์อย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างสูง จนทำให้ผู้คนเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกยี่ห้อว่ามาม่า
ข้อได้เปรียบคือผู้คนเรียกชื่อมาม่าจนติดปาก และใคร ๆ ก็พูดถึง และการที่ผู้คนเหมารวมเรียกผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้งหมดว่ามาม่า ส่งผลต่อการจดจำแบรนด์ของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
แต่ขณะเดียวกันข้อเสียก็คือเมื่อเกิดการโฆษณาของมาม่า ก็จะกลายเป็นโฆษณาให้ยี่ห้ออื่นไปด้วย ถึงแม้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหลายยี่ห้อจะมีรสชาติที่เหมือนกัน แต่แบรนด์มาม่าก็พยายามทำให้แตกต่าง และพยายามที่จะไม่ทำรสที่ออกมาซ้ำกับยี่ห้ออื่น ๆ
จุดเริ่มต้นแพ็กเกจจิ้งที่แตกต่าง
มาม่าเป็นแบรนด์แรกที่ใช้วัสดุ Metalized มาใช้กับบรรจุภัณฑ์ของรสต้มยำกุ้ง เพื่อสร้างความแตกต่าง บรรจุภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์และไม่เหมือนกับยี่ห้ออื่น ให้เกิดความโดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง และทำให้ผู้คนจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทั้งนี้มาม่าก็ศึกษาเกี่ยวกับแพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบที่ทดแทนการใช้พลาสติก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งอวดล้อม ซึ่งมาม่าเป็นแบรนด์แรกที่เปลี่ยนจากถ้วยพลาสติกมาเป็นกระดาษแทน
จุดเริ่มต้นของรสชาติใหม่ ๆ
นอกจากจะมีการวิจัยและพัฒนาสินค้าเพื่อค้นหารสชาติใหม่ ๆ ที่โรงงานแล้ว แนวคิดการสร้างรสชาติใหม่ ๆ ของแบรนด์ก็เกิดมาจากแนวคิดของผู้คนทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทุกฝ่าย โดยเริ่มจากใครที่อยากกินรสชาติอะไร ก็นำแนวคิดเหล่านั้นมาแบ่งปันกัน โดยจะเริ่มจากการรีเสิร์ชกลุ่มเล็ก ๆ ก่อนที่จะรีเสิร์ชกลุ่มใหญ่ เพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด
จุดเริ่มต้นผู้นำเทรนด์ ไม่ใช่ผู้ตามเทรนด์
มาม่ามักจะฟังเสียงของคนกลุ่มน้อยเพื่อตอบสนองความต้องการให้ครอบคลุมลูกค้าทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติ หรืออาหทารเพื่อสุขภาพ มาม่าก็พร้อมที่จะปรับให้เข้ากับลูกค้ากลุ่มนั้นโดยไม่มีลังเล หรือแม้แต่การออกรสชาติและการผลิตเส้นแบบใหม่ ที่ใช้แป้งสาลี 100% เพื่อให้ได้ความเหนียวนุ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบแห้งเจ้าแรกในไทยอีกด้วย
จุดเริ่มต้นที่ไม่เคยเปลี่ยน
มาม่าใช้สโลแกนเดิมไม่เคยเปลี่ยนมาเป็นเวลาเกือบ 50 ปี “มาม่า อร่อย” สโลแกนง่าย ๆ แต่บ่งบอกถึงความอร่อยของสินค้าได้เป็นอย่างดี ผลิตภัณฑ์ของมาม่าแต่ละรสชาติ เกิดจากการพิถีพิถัน คัดสรรอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และอร่อยถูกใจผู้บริโภค
เรียนรู้การทำ Marketing, Brand และ Sale ได้ที่:
ธุรกิจเติบโตด้วย Marketing, Brand & Sales
__________________________________________________________________________
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
Facebook: https://www.facebook.com/youmooc
LINE: @youmooc (อย่าลืมใส่ @) [https://lin.ee/thXVOy0]
Shopee: YOU MOOC
Lazada: YOU MOOC